ตาข่ายอวนโปลีทำกระชังเลี้ยงปลา

การอนุบาลและการเลี้ยงปลากระพงในกระชัง

 


การอนุบาลลูกปลา
1. บ่ออนุบาล ควรเป็นบ่อซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 3-5 ตารางเมตร มีความลึก 50 เซนติเมตร ใช้อนุบาลลูกปลาซึ่งมีขนาดยาว 3 เซนติเมตร ได้จำนวน 300-500 ตัว การอนุบาลลูกปลาจะมากขึ้นหรือลดลงได้ตามความเหมาะสม แต่การอนุบาลลูกปลาในบ่อดินจะได้ผลดีกว่า
2. น้ำที่ใช้อนุบาลลูกปลา ควรเป็นน้ำที่ใส่สะอาดมีความเค็มใกล้เคียงกับน้ำในแหล่งที่จับลูกปลา ไม่ควรอนุบาลลูกปลากะพงในน้ำจืดล้วน ๆ ควรใส่เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ ในน้ำจืด 1 ลิตร (ความเค็ม 10-12 ส่วนในพัน) การใช้เครื่องปั๊มอากาศจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์ เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้เพียงพอกับความต้องการหายใจของลูกปลา ควรเปลี่ยนน้ำให้บ่อย ๆ หรือใช้ระบบน้ำหมุนเวียนกรองจนสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ รวมทั้งการขจัดเศษอาหารและสิ่งขับถ่ายออกจากบ่อจะทำให้ลูกปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น
3. อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปลา สำหรับลูกปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 1.50 เซนติเมตร ให้กินไรแดงหรือกุ้งเคยขนาดเล็ก แต่ถ้าลูกปลามีความยาวกว่านี้ ใช้เนื้อปลาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้กินวันละ 2-3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้กินอย่างเพียงพอ แต่ไม่ควรให้อาหารเหลือตกค้างอยู่ในบ่อ จะเป็นเหตุให้น้ำเสียและเป็นช่องทางให้เกิดโรคกับลูกปลาได้
4. การกินกันเองจะพบบ่อย ๆ ในระยะแรกที่ลูกปลายังไม่เคยชินกับอาหารที่เราฝึกให้กิน เพราะโดยนิสัยตามธรรมชาติ ปลากะพงขาวจะกินเหยื่อที่มีชีวิต ดังนั้นเวลาหิวลูกปลาที่โตกว่าก็จะกินปลาตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร จึงจำเป็นต้องคอยแยกปลาขนาดเล็กที่โตช้าหรือขนาดใหญ่ที่โตเร็วไปรวบรวมไว้กับลูกปลาที่มีขนาดเดียวกัน มิฉะนั้นลูกปลาจะเหลือรอดน้อย เมื่ออนุบาลลูกปลาจนได้ขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร ก็สามารถปล่อยลงเลี้ยงในกระชังต่อไปได้

อุปกรณ์ในการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
1. การเลือกทำเลเพื่อการตืดตั้งกระชังเลี้ยงปลา เป็นแหล่งที่มีระดับความลึกของน้ำอย่างน้อย 1 เมตร มีกระแสน้ำไหลผ่านสะดวก - เป็นแหล่งที่มีเครื่องกำบังคลื่นลมตามธรรมชาติได้ดี เพื่อให้กระชังปลอดภัยจากการทำลาย ของคลื่นลม เช่น บริเวณที่ลึกเข้าไปในทะเลสาบ ปากแม่น้ำ ลำคลอง และอ่าวปิดบางแห่ง - เป็นแหล่งที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม อันจะเป็นเหตุให้เกิดน้ำเสีย ซึ่งจะเป็นพิษ เป็นภัยต่ออปลาที่เลี้ยงและผู้บริโภคเนื้อปลา แหล่งที่วางกระชังควรอยู่ห่างจากเส้นสัญจรทางน้ำ เพื่อให้กระชังปลอดภัยจากการถูกเรือชน อันจะเป็นเหตุให้กระชังเสียหายปลาหนีออกจากกระชังได้และปราศจากเสียงรบกวน
2. วัสดุที่ใช้ในการเลี้ยงปลา ใช้กระชังไนล่อนขนาดกว้าง 5 เมตร ลึก 2-50 เมตร ประกอบด้วยเนื้ออวนเบอร์ 15 มีขนาดตาเหยียด 2.0-2.5 เซนติเมตร สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ 300 ตัว ต้นทุนของกระชังขนาดดังกล่าวคิดเป็นเงินกระชังละ 1,600 บาท ใช้ได้นาน 4-5 ปี - อาหารที่ใช้เลี้ยง เป็นพวกเศษปลาเบ็ดเตล็ด ราคาถูก ๆ ประมาณกิโลกรัมละ 1.50 บาท โดยสับเป็นชิ้น ๆ พอเหมาะกับปลาขนาดที่เลี้ยง
3. การดูแลรักษา เมื่ออนุบาลลูกปลา ได้ขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร จึงนำปลาปล่อยลงเลี้ยงในกระชัง ที่วางเตรียมไว้ โดยให้อาหารในเวลาที่น้ำขึ้นเต็มที่ โยนให้กินคราวละน้อย ๆ ให้กินอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงจนกว่าปลาจะหยุดกิน ไม่ควรให้อาหารเกิดความจำเป็น เพราะอาหารเหลือตกค้างอยู่ในกระชัง กลับเป็นเหยื่อปูและสัตว์น้ำอื่น ๆเข้ามาทำลายกระชัง อันเป็นเหตุให้ปลาหนีออกจากกระชังไปได้ ผู้เลี้ยงต้องหมั่นลงตรวจกระชังเพื่อป้องกันการสูญหายของปลา
4. ผลผลิตจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง จากผลการทดลองเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง พบว่าเมื่อเลี้ยงปลาในกระชังครบ 1 ปี จะให้ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่กระชัง 100 ตารางเมตร โดยมีอัตราการรอดตายประมาณ 90 % และในการเลี้ยงปลากะพงขาว เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่ใช้เลี้ยงกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อของปลาจะได้เนื้อ 1 กิโลกรัม ต่อ อาหารที่ให้ 7-10 กิโลกรัม

 

ขอบคุณที่มา http://ปลากะพง.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

12 เมษายน 2560