ตาข่ายอวนโปลีเลี้ยงไก่

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง  
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

1.อายุ 0-6 สัปดาห์ (การเลี้ยงลูกไก่)
ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาดและพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคต จำเป็นที่จะต้องเลี้ยงดูแลอย่างดี
1) เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟัก นำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่ เพื่อให้ไก่อบอุ่น ด้วยอุณหภูมิ 95 องศาฟาเรนไฮต์

2) ในสัปดาห์ที่ 1 และลดอุณหภูมิลง สัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ ประมาณ 22 ตัวต่อตารางเมตร การกกลูกไก่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟ เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆส่วนกลางคืนต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และวางอยู่ใกล้รางอาหาร โดยทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้ง 2 ข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำ 1 แกนลอน จำนวน 3 ขวด

3) การให้อาหารลูกไก่ 2 สัปดาห์แรก
ให้ตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้ลูกไก่กินอาหารดีขึ้น เมื่อลูกไก่อายุ 1 สัปดาห์ ควรทำการตัดปากหรือขลิบปลายปากบนออก 1 ใน 3 ของความยาว ควรกกลูกไก่นาน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นกับอุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ณ ขณะนั้น ควรสังกตุความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกได่ด้วย

2.อายุ 7-16 สัปดาห์ (การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโต)

การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโต 7-16 สัปดาห์นั้น เป็นการเลี้ยงบนพื้นดิน ปล่อยเป็นฝูง ฝูงละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 7-8 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร พื้นคอก รองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ ให้เลี้ยงปนกัน ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย

การเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง
จะต้องเลี้ยงแบบให้มีอาหารให้กินเต็มที่ มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาด ขวดน้ำ 2 วันละครั้ง คือเช้าและบ่าย

ไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารชนิดที่ใช้แขวน จำนวน 1 ถัง ต่อไก่ 20-25 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 3 ลิตร ต่อไก่ 30 ตัว แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่กว้าง ก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองในโรงเรือนได้

3.อายุ 17-26 สัปดาห์ (การเลี้ยงไก่สาว)
การเลี้ยงไก่สาว เลี้ยงในคอกบนพื้นดิน เลี้ยงเป็นปล่อยเป็นฝูง ฝูงละ 100-150 ตัว หรือพื้นที่ 1 ตารางเมตร เลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว

การเลี้ยงไก่ระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน ซุ่มชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตรฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูง
เมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอๆ เมื่อเห็นว่าคอกเปียกชื้น การรักษาให้แห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก

เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก  ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องสร้างคอกไก่ให้ระบายอากาศได้ดี มีลมผันพัดผ่านความชื้นออกไปและมีอากาศเย็น และสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรมืดทึบ อับลม อับแสง

4.อายุ 26-72 สัปดาห์ (การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์)
1) ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุประมาณ 6-7 เดือน
เมื่อไก่เริ่มไข่ ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ให้มีโภชณาอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อให้ไก่ นำไปสร้างไข่

2) แสงสว่างมีผลในการกระตุ้นการไข่ของแม่ไก่
การให้แสงสว่างไม่เพียงพอ แม่ไก่จะไข่ลดลง แม่ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่
และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 15-16 ชั่วโมงติดต่อกัน แต่หากมากกว่านี้ จะไม่เป็นผลดี แม่ไก่จะไม่ไข่เป็นเวลา กระจัดกระจาย บางครั้งไข่กลางคืน ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก
การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 15-16 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14.00 น. ทุกๆ วัน

ส่วนผสมของอาหารไก่ ตามช่วงอายุต่างๆ
เกษตรกรสามารถผสมอาหารไก่ ไว้ใช้เองได้ง่ายๆ ซึ่งทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ได้เป็นจำนวนมาก เป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงได้เป็นอย่างดี เพราะต้นทุนหลักในการเลี้ยงไก่คือ อาหาร ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด เกษตรกรควรให้อาหารตรงตามอายุไก่ เพราะไก่แต่ละช่วงต้องการอาหารดังนี้

ส่วนผสมอาหารสำหรับลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์
ข้าวโพด,รำละเอียด,กากถั่วเหลือง,ใบกระถินป่น,ปลาป่น (55%)
,เปลือกหอย,ไดแคลเซียม,เกลือ,พรีมิกซ์ เป็นต้น

ส่วนผสมอาหารสำหรับไก่อายุ 7-16 สัปดาห์
ข้าวโพด,รำละเอียด,ใบกระถินป่น
,กากถั่วเหลือง (44%),ถั่วเหลืองเมล็ด,ปลาป่น (55%)
,เปลือกหอยป่น,ไดแคลเซียมฟอสเฟส,เกลือป่น,พรีมิกซ์ และสมุนไพรเป็นต้น

ส่วนผสมอาหารสำหรับไก่อายุ 17-26 สัปดาห์
ข้าวเปลือก,ข้าวโพด,รำละเอียด,กากถั่วเหลือง,ถั่วเหลืองเมล็ด,ปลาป่น (55%)
,เปลือกหอยป่น,ไดแคลเซียมฟอสเฟส,เกลือป่น,พรีมิกซ์ เป็นต้น

ส่วนผสมอาหารสำหรับไก่อายุ 26-72 สัปดาห์
ข้าวโพด,กากถั่วเหลือง (44%),ใบกระถินป่น,ปลาป่น (55%)
,เปลือกหอย,ไดแคลเซียม,เกลือ,DL-เมทไธโอนีน,พรีมิกซ์แม่ไก่ไข่ เป็นต้น

โรคและการป้องกันโรค
โปรแกรมการทำวัคซีน
ข้อควรทราบก่อนทำวัคซีน
1.ศึกษารายละเอียดการเก็บรักษาและการทำวัคซีนตามคำแนะนำเฉพาะของวัคซีนแต่ละชนิด
2.ทำวัคซีนให้แก่สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และไม่เป็นโรค
3.ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์เท่านั้น
4.วัคซีนสามารถใช้จนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ในข้างขวด
5.อย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และต้องให้วัคซีนครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6.หลังให้วัคซีน ควรเว้นช่วงเวลา ตามคำแนะนำของวัคซีนแต่ละชนิด ก่อนจะนำไปส่งโรงฆ่า
7.วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทำลายทิ้ง
8.ขวดบรรจุวัคซีนหรือภาชนะที่ใช้การผสมวัคซีนควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง
9.ต้องใช้วัคซีนซ้ำเมื่อหมดระยะความคุ้มโรคของวัคซีนแต่ละชนิดตามคำแนะนำ
10.วัคซีนชนิดที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมและวต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระหว่างนั้นต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง
11.สัตว์บางตัวอาจเกิดการแพ้หลังฉีดวัคซีน ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการสัตว์ภายหลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าเกิดอาการแพ้ให้รักษาด้วยแอดรีนาลีน หรือแอนติฮีสตามีน หรือคัดไก่ที่แพ้ออกทันที
12.วัคซีนที่เสื่อมสภาพ หมดอายุมีการปนเปื้อน หรือสีของวัคซีนเปลี่ยนไปห้ามนำมาใช้
13.การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน
14.การให้วัคซีนเพื่อสร้างระดับความคุ้มโรคในแม่พันธุ์สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ในระยะแรกเกิด
15.ไม่ควรหวังผลจากการฉีดวัคซีน แต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขาภิบาลที่ดี จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ขอบคุณที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=NwYqxRlLmX0

12 เมษายน 2560